ฉันมีปัญหาทางสุขภาพจิตและไม่สามารถทำงานได้ ฉันขอเคลม TPD ได้ไหม

ฉันมีปัญหาทางสุขภาพจิตและไม่สามารถทำงานได้ ฉันขอเคลม TPD ได้ไหม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นการที่สังคมเริ่มมีการปรับตัว ยอมรับ และสนับสนุนผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือมีอาการป่วยทางจิต อคติทั้งหลายเกี่ยวกับสุขภาพจิตกำลังถูกทำลายลงเรื่อย ๆ อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บทางร่างกายสามารถเรียกร้องผลประโยชน์ภายใต้การประกัน TPD ได้ หรือภายใต้ประกันภัยอื่น ๆ ได้เช่น ประกันคุ้มครองรายได้ เป็นต้น แต่หลายคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือมีอาการป่วยทางจิตมักคิดว่าไม่คุ้มแม้แต่จะเรียกร้องผลประโยชน์ของ TPD เพราะมันคงจะยากเกินไปสำหรับการเรียกร้องที่จะได้รับการอนุมัติ

ในบทความนี้เราจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการอ้างสิทธิ์ TPD ที่ประสบความสำเร็จหากคุณไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากอาการป่วยทางจิต

ฉันไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จของผู้ทุพพลภาพ นี่หมายความว่าฉันไม่สามารถเรียกร้อง TPD ได้ใช่ไหม ?

คำตอบคือ ไม่ครับ สิ่งสำคัญคือคุณไม่สามารถทำงานอีกต่อไปเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือสภาพทางร่างกายและจิตใจของคุณ ปัจจุบันมีการรู้จักความเจ็บป่วยทางจิตประเภทต่างๆ มากขึ้น และเป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่ามีผลกระทบต่อผู้คนอย่างไร ซึ่งหมายความว่าคุณอาจสามารถเรียกร้อง TPD ได้หากคุณกำลังประสบกับอาการต่อไปนี้ :

· โรคซึมเศร้า

· โรควิตกกังวล

· โรคไบโพลาร์

· ความผิดปกติของความเครียดหลังเกิดเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ (PTSD)

· โรคจิตเภท

· กลุ่มโรคจิตเภทที่มีความผิดปกติทางอารมณ์

· ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

· โรคย้ำคิดย้ำทำ

หรือความเจ็บป่วยทางจิตอื่น ๆ

เราทราบดีว่าโครงการของรัฐบาลบางโครงการและบริษัทประกันภัยอื่นๆ มีกรอบการทำงานและเกณฑ์การประเมินสิทธิ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจต้องมีการประเมินระดับของ ‘ความบกพร่องของบุคคลทั้งหมด’

ในทางตรงกันข้าม ข้อพิจารณาหลักในการขอรับสิทธิประโยชน์จาก TPD คือคุณไม่ได้ทำงานอีกต่อไปเนื่องจากความเจ็บป่วยหรืออาการป่วยของคุณ

ดังนั้น หากการเจ็บป่วยของคุณทำให้คุณต้องหยุดทำงานอย่างถาวร คุณอาจจะมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จาก TPD แม้ว่าคุณจะถูกปฏิเสธสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพหรือค่าชดเชยแรงงาน

ฉันได้ยินมาว่าการเรียกร้องค่าชดเชยจาก TPD ตามอาการป่วยทางจิตเป็นเรื่องยากมาก ฉันควรทำการเรียกร้องจริง ๆ เหรอ ?

แม้ว่าการเคลมประกัน TPD สำหรับอาการป่วยทางจิตและอาการป่วยทางจิตนั้นจะยาก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากคุณได้แสวงหาและเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ คุณก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้สำเร็จ

ฉันยังไม่สามารถไปพบจิตแพทย์ได้ ฉันสามารถเรียกร้อง TPD ได้หรือไม่ ?

การจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากและมีราคาแพง เราเข้าใจดีว่าสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาค ชนบท และพื้นที่ห่างไกล การเข้าถึงการรักษาสุขภาพจิตที่เหมาะสมอาจเป็นเรื่องยากเพราะไม่สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางจิตใจของคุณ การค้นหาการดูแลในสถานที่ที่เหมาะสม (เช่น ในโรงพยาบาล) อาจแทบจะเป็นไปไม่ได้ในบางพื้นที่และมีค่าใช้จ่ายสูง เรายังทราบอีกด้วยว่าอาการป่วยทางจิตนั้นมีเงื่อนไข และการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ด้วยเหตุนี้ คุณอาจมีการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพไม่สม่ำเสมอ

Like? Share it with your friends.

Contact the Author

Topics

More Articles

สิ่งที่คุณต้องรู้หากคุณได้รับบาดเจ็บแบบลูกหลงจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แม้ว่าคุณจะเดินอยู่บนฟุตพาธ

เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันนั้นมีสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผ่าน ประกันภัย Compulsory Third Party – CTP แต่ที่หลายคนไม่ทราบกันคือว่าพวกเขามีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยที่คล้ายกันหากได้รับบาดเจ็บจากยานยนต์แม้ว่าจะเป็นคนที่เดินอยู่บนฟุตพาธก็ตามโดยใช้กฎหมายเดียวกันกับที่ใช้ควบคุมอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยทั่วไปยังบังคับใช้กับคนเดินบนฟุตพาธที่ต้องการค่าสินไหมทดแทนสำหรับการเกิดการบาดเจ็บที่เกิดจากคนขับที่ประมาทเลินเล่อตัวอย่างเช่นสมมติว่าคุณกำลังเดินไปที่สวนสาธารณะแถวบ้านกำลังเพลิดเพลินกับวันที่แดดจ้า อากาศอันสดใส แล้วจู่ๆ คนขับที่ประมาทก็ขับรถหักมุมเลี้ยวชนเข้ากันตัวคุณ โลกของคุณกลับหัวกลับหางเมื่อคุณพบว่าตัวเองอยู่บนเตียงในโรงพยาบาลกระดูกหักและยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนที่ต้องพักฟื้นเพื่อฟื้นฟูร่างกายค่ารักษาพยาบาลของคุณพอกพูนเพิ่มขึ้นแต่ในทางกลับกันคุณก็ไม่สามารถกลับไปทำงานได้เนื่องจากอาการบาดเจ็บในฐานะคนเดินบนฟุตพาธที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์กฎหมายอาจช่วยให้คุณได้รับค่าสินไหมที่เหมาะสมได้  ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ในพระราชบัญญัติการประกันภัยอุบัติเหตุทางรถยนต์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่ง พ.ศ. 2546 ได้กำหนดกรอบทางกฎหมายสำหรับการเรียกร้องขอค่าสินไหมทดแทนการบาดเจ็บของคนเดินบนฟุตพาธภายใต้กฎหมายนี้คนเดินบนฟุตพาธที่ได้รับบาดเจ็บสามารถขอค่าชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาล...

Read More