ฉันทำการเรียกร้องค่าชดเชยจาก TPD มากกว่าหนึ่งครั้งได้ไหม ? 

คำถามที่เรามักถูกถามบ่อย ๆ อย่างเช่น 

“ฉันสามารถเรียกร้องค่าชดเชยจาก TPD สองครั้งได้หรือไม่ ?”  หรือ “ฉันสามารถเรียกร้องค่ำชดเชยจาก TPD มากกว่าหนึ่งครั้งได้หรือไม่ ?” หรือ “แล้วถ้าฉันมีกองทุนมากกว่า 1 กองทุนล่ะ ทำได้หรือเปล่า ?” ในบทความเราจะมีคำตอบให้คุณครับ โดยทั่วไปเราจะไปดูที่บริบทว่าเป็นอย่างไร 

แล้วบริบทต้องเป็นอย่างไรล่ะ ?

เป็นเวลาหลายปีที่ชาวออสเตรเลียหรือผู้คนที่อยู่ในออสเตรเลียจำนวนมากได้เป็นสมาชิกในบัญชีเงินบำนาญ (Superannuation) หลายบัญชีเนื่องจากมีงานทำจำนวนมากในระยะเวลาอันยาวนาน

ซึ่งหมายความว่าในอดีตบุคคลบางคนได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (TPD) มากกว่าหนึ่งกรมธรรม์ และสามารถเรียกร้องได้หากถูกบังคับให้หยุดทำงานเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ  และในอดีตสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในการเรียกร้องค่าชดเชยจาก TPD นั่นคือผู้อ้างสิทธิ์ที่เป็นสมาชิกในบัญชีเงินบำนาญ (Superannuation) พร้อมกัน 11 บัญชี 

ไม่ว่าจะมีมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น กองทุน superannuation หลาย ๆ กองทุน ทั้งหมดมีระดับแตกต่างกันในกองทุนภายใต้การบริหาร การประกันภัย ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ต่างๆ ของเรา 

แต่อย่างไรก็ตามด้วยการปฏิรูปมากมายของรัฐบาลกลางออสเตรเลียตั้งแต่ปี 2015 โอกาสที่ผู้อ้างสิทธิ์จะมีสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 2 บัญชีขึ้นไปจึงมีจำนวนลดลง

ฉันสามารถเรียกร้องค่าชดเชยจาก TPD หลายรายการสำหรับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเดียวกันได้หรือไม่ ?

เราจะสมมติให้ฟัง นี่คือสถานการณ์สมมติ : หากคุณประสบความเจ็บป่วยทางจิตที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมหลังจากทำงานในตำแหน่งประจำมาทั้งชีวิต คุณได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าคุณควรหยุดทำงานเนื่องจากสุขภาพไม่ดี และคุณไม่น่าจะกลับไปทำงานได้ภายใต้วุฒิการศึกษา การฝึกอบรม หรือจากประสบการณ์ของคุณ ณ วันที่คุณทำงานล่าสุด คุณเป็นสมาชิกของกองทุน A และกองทุน B ซึ่งทั้งสองกองทุนมีความคุ้มครอง TPD

คุณจะสามารถเคลม TPD ด้วย กองทุน A และ B ได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้ครับ และคุณควรลองเรียกร้องค่าชดเชยเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากคุณได้จ่ายเบี้ยประกันในกรมธรรม์สองแบบที่แตกต่างกัน 

จากที่กล่าวไปข้างต้นเราอาจจำเป็นต้องมีถ้อยคำที่จำเป็น หมายถึงการมีกลยุทธ์ในการสมัครส่งคำร้องเรียกค่าชดเชย ดังนั้นการขอรับคำแนะนำทางกฎหมายจากผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และหากสมมติว่าคุณได้รับเงินจากการเรียกร้อง TPD แล้ว และคุณกลับไปทำงาน  คุณสงสัยหรือต้องการที่จะรู้ในหัวข้อถัดไปนี้  

ฉันสามารถเรียกร้อง TPD อีกครั้งได้หรือไม่ถ้าฉันเรียนสิ่งใหม่เพื่อทำงานในอาชีพใหม่?

นี่คือสถานการณ์สมมติ: หากคุณได้รับบาดเจ็บที่หลังอย่างรุนแรงหลังจากทำงานเป็นคนขับรถบรรทุกมาทั้งชีวิต  กองทุน A จ่ายผลประโยชน์ TPD ให้คุณ  แต่คุณยังมีอายุที่ไม่มาก และยังมีความทะเยอทะยานในการทำอาชีพใหม่ดังนั้นหลังจากฟื้นตัวแล้ว คุณก็ได้พาตัวเองเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเวลาสองสามปีเพื่อเป็นครู  คุณเริ่มทำงานและรับเงินซุปเปอร์ของคุณเข้ากองทุน B และหลังจากผ่านไประยะหนึ่ง สิ่งเลวร้ายที่สุดก็เกิดขึ้น และคุณเป็นโรคหลอดเลือดในสมองแตกอย่างรุนแรง ทำให้คุณไม่สามารถทำงานได้อีกครั้ง 

คุณจะสามารถเคลม TPD ด้วยกองทุน B ได้หรือไม่?

คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ประกันภัยของคุณครับ เมื่อหลายปีก่อนบริษัทประกันส่วนใหญ่ได้กำหนดบทบัญญัติในกรมธรรม์เพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกใหม่ได้รับการชดเชยจากประกัน TPD หากทำผิดเงื่อนไข แม้ว่าก่อนหน้านี้คุณได้รับผลประโยชน์ที่อยู่ภายใต้กรมธรรม์อื่น (หรือแม้แต่กรมธรรม์เดียวกัน!) 

เนื่องจากคำถามดังกล่าวมักไม่มีการถามถึงสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญใหม่เมื่อเข้าร่วมกองทุน ผู้ประกันตนบางรายโต้แย้งว่าพวกเขายังคงมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองย้อนหลังได้ แม้จะรับเบี้ยประกันของคุณในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ตาม ในบางครั้งอาจมีข้อโต้แย้งว่าหากกรมธรรม์ของคุณมีเงื่อนไขที่แยกกันต่างหากและชัดเจน คุณไม่ควรได้รับการป้องกันจากการอ้างสิทธิ์ผลประโยชน์ TPD เป็นครั้งที่สอง แม้ว่าจะมีการกล่าวในกรมธรรม์ก็ตาม 

ฉันคิดว่าฉันต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าชดเชยจาก TPD แล้วล่ะ

สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องรู้สิทธิ์ของคุณ 

หากคุณยังไม่ได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยอย่างน้อยหนึ่งรายการ และต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการที่กรมธรรม์หลายฉบับที่คุณมีความเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วม คุณควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่มีความรอบรู้ในเรื่องของ TPD  

และหากคุณได้ยื่นคำร้องไปแล้วและถูกปฏิเสธโดยกองทุนบำเหน็จบำนาญหรือบริษัทประกัน คุณอาจมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาทบทวนผ่านกระบวนการแก้ไขภายใน โดยหากคำร้องของคุณได้รับการสนับสนุน คุณอาจต้องมีการดำเนินยื่นคำร้องต่อศาลหรือยื่นคำร้องกับ Australian Financial Complaints Authority (AFCA) 

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นมีการจำกัดเวลาที่เข้มงวดนับว่าเป็นสิ่งท้าทายและกดดันต่อการตัดสินใจของผู้ประกันตน ดังนั้นคุณควรขอคำแนะนำทางกฎหมายโดยเร็วที่สุด 

อย่ารอช้า – ขอคำแนะนำตอนนี้

หากคุณมีอาการป่วยหรือได้รับบาดเจ็บที่ขัดขวางการทำงาน คุณอาจจะกังวลว่าคุณจะจ่ายบิลค่าต่างหรือซื้ออาหารมาวางบนโต๊ะได้อย่างไรอย่ากังวลไปครับคุณอาจมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าชดเชยจาก TPD รวมถึงผลประโยชน์การประกันอื่นสามารถขอรับคำแนะนำได้เลยตอนนี้ที่ 

Email: Wapir@littles.co  

ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0478 770 556   

(คุณอ๋อง วลัญช์ อภิรัตน์เกษม)  

Like? Share it with your friends.

Contact the Author

Topics

More Articles